สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 กรกฎาคม 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,713 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,754 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,048 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,068 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,250 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,590 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,800 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 847 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,864 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 855 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,821 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 410 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,940 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,140 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 200 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,050 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 431 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,537 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.18 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 487 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.4397 บาท 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ บังกลาเทศ: ข้าวนึ่งไทยส่งออกฉลุยบังกลาเทศปรับลดภาษีนำเข้าร้อยละ 25
รัฐบาลบังกลาเทศประกาศลดภาษีนำเข้าข้าวนึ่งร้อยละ 25 ให้แก่ภาคเอกชน โดยมี 2 บริษัทผู้ส่งออกข้าวไทยได้รับอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าวของกระทรวงการอาหารของบังกลาเทศ
นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 รัฐบาลบังกลาเทศได้ออกประกาศลดหย่อนภาษีนำเข้าและอากรนำเข้าข้าวนึ่งเหลือร้อยละ 25 จากภาษีและอากรนำเข้าเต็มร้อยละ 62.5 หรือลดลงร้อยละ 37.5 โดยมีผลตั้งแต่ 23 มิถุนายน 2565 - 31 ตุลาคม 2565 เนื่องจากปัจจุบันบังกลาเทศกำลังประสบปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 8 ปี และผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วม
สำหรับการนำเข้าข้าวของบังกลาเทศจะเป็นการเปิดประมูลให้ภาคเอกชนที่ได้รับการอนุมัติขึ้นทะเบียน
จากกระทรวงการอาหารของบังกลาเทศมาเข้าร่วมประมูล ซึ่งล่าสุดในปีงบประมาณ 2565-2567 ของบังกลาเทศ (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 มิถุนายน 2567) มีบริษัทไทยที่ได้รับการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าวของกระทรวงการอาหารบังกลาเทศ จำนวน 2 ราย คือ บริษัท Asia Golden Rice Co., LTD และบริษัท Thai Granlux International Rice Co., Ltd. ที่มีโอกาสเข้าร่วมประมูลข้าวของบังกลาเทศในครั้งนี้
ที่ผ่านมา บังกลาเทศเคยเป็นตลาดนำเข้าข้าวนึ่งที่สำคัญของไทย ดังนั้นการประกาศปรับลดภาษีนำเข้าข้าวนึ่งของบังกลาเทศจึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับข้าวนึ่งไทยที่จะเข้าไปชิงส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวนึ่งในบังกลาเทศ
อีกครั้งหนึ่ง ประกอบกับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-พฤษภาคม) บังกลาเทศนำเข้าข้าวไทยเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจัยบวกที่สำคัญ อาทิ ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงทำให้ราคาข้าวไทยสามารถแข่งขัน
กับประเทศคู่แข่งได้ คุณภาพ มาตรฐาน และรสชาติข้าวไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก และสถานการณ์ขนส่งทางเรือ
คลี่คลายลง
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
กัมพูชา: กัมพูชาส่งออก “ข้าว” สู่จีน ครึ่งปีแรกทะลุ 1.68 แสนตัน
รายงานจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมงของกัมพูลา ระบุว่า กัมพูชาส่งออกข้าวขาวไปยังจีนรวม 168,280 ตัน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
จีนยังคงเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน โดยการส่งออกไปยังจีนนั้นครองสัดส่วนร้อยละ 51.4 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา
ทรง สราญ ประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ระบุว่า จีนเป็นตลาดขนาดใหญ่สำหรับข้าวกัมพูชา และคาดว่ากัมพูชาจะสามารถส่งออกข้าวไปยังจีนได้มากขึ้นหลังจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565
สราญ เผยว่า ความตกลงจะช่วยทำให้การค้าสินค้าระหว่างกัมพูชาและจีนเป็นไปอย่างราบรื่น รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่เข้าร่วมด้วย โดยความตกลงการค้าระดับภูมิภาคขนาดใหญ่นี้ ช่วยให้สินค้าของกัมพูชาสามารถเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น และจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในภาคส่วนต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมข้าวเพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไปยังกลุ่มประเทศสมาชิกความตกลงฯ ด้วยการลดหย่อนภาษี สราญ ซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัท อัมรู ไรซ์ (กัมพูชา) จำกัด กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันบริษัทส่งออกข้าวขาวไปยังจีน สิงคโปร์ และออสเตรเลียเป็นส่วนใหญ่
รายงานระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 กัมพูชาส่งออกข้าวขาวรวม 327,200 ตัน ไปยัง 51 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก โดยส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งในจำนวนนี้ส่งไปยังตลาดยุโรป 98,624 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47
ที่มา: xinhuathai.com 
อิหร่าน
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน รายงานว่า ปัจจุบันสถานการณ์ตลาดข้าวในประเทศอิหร่านยังคงอยู่ในภาวะผันผวนซึ่งเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา โดยพบว่าราคาข้าวในตลาดอิหร่านยังคงปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบรายเดือน แม้ว่ารัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงราคาแล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติพบว่า รัฐบาลยังไม่สามารถเข้ามาควบคุมราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากปริมาณข้าวในตลาดค่อนข้างน้อย ประกอบกับรัฐบาลประสบปัญหาด้านการนนําเข้าข้าว ส่งผลให้มีความจำเป็นต้องนําข้าวที่เหลือในคลังสํารองออกมาจําหน่ายในราคาถูกเพื่อพยุงราคาข้าวในประเทศ และบรรเทาความเดือนร้อนให้กับผู้มีรายได้น้อย
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนข้าวและข้าวราคาสูง หลังวันขึ้นปีใหม่ในเดือนมีนาคม 2565
ที่ผ่านมา รัฐบาลอิหร่านได้เปิดไฟเขียวให้ภาคเอกชนเป็นผู้จัดหาและนําเข้าข้าวจากต่างประเทศโดยเร่งด่วน เพื่อให้ทันกับเทศกาลมะฮะรัม (พิธีกรรมไว้อาลัยให้กับบุคคลสำคัญทางศาสนาตามความเชื่อทางวัฒนธรรมที่ใช้เวลานาน ประมาณ 2 เดือน ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี) โดยช่วงดังกล่าว จะเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาของปีที่มีการทำบุญบริจาคทานให้กับผู้ยากไร้และผู้ล่วงลับ ส่งผลให้ตลาดผู้บริโภคมีความต้องการข้าวในปริมาณสูง
นาย Masih Keshavarz เลขาธิการสมาคมผู้นําเข้าข้าวอิหร่าน (Iranian Rice Importers Association) ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวท้องถิ่นอิหร่าน Tejarat News Agency ว่า ข้าวที่ภาคเอกชนอิหร่านอยู่ระหว่างขั้นตอนการนําเข้านี้ จะเป็นข้าวหอมชั้นหนึ่งและมีคุณภาพสูง เป็นข้าวพันธุ์ Jasmine และ Homali ที่มีคุณสมบัติในแง่ของกลิ่นและรสชาติ
ที่ใกล้เคียงกับข้าวหอมพันธุ์ Tarom ของอิหร่าน ที่ได้รับความนิยมสูงและขึ้นชื่อ โดยข้าวหอมนี้จะจัดส่งถึงอิหร่านในอีกประมาณ 1 เดือนข้างหน้า โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ไทย อินเดีย และปากีสถาน นำเข้าในราคากิโลกรัมละประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับราคาแลกเปลี่ยนในตลาดเสรี ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 300,000 เรียล ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าจะขายให้ผู้บริโภคได้ในราคากิโลกรัมละประมาณ 400,000 เรียล (1.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 47 บาทต่อกิโลกรัม)
ทั้งนี้ ในส่วนของนาย Kazem Ali Hasani เลขาธิการสหภาพผู้ค้าส่งอาหารกรุงเตหะราน (Union of Food Wholesalers in Tehran ) ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันสหภาพฯ ได้จําหน่ายข้าวขาวของไทย ที่นําเข้าโดยหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือ Government Trading Corporation (GTC ) ในราคากิโลกรัมละ 125,000 เรียล (ประมาณ 15 บาท) หมดลงแล้ว ส่วนข้าวนําเข้าชนิดอื่นๆ ที่คงเหลือในโกดังของรัฐ สหภาพฯ จะนําออกจําหน่ายในราคาประมาณกิโลกรัมละ 240,000 - 370,000 เรียล (ประมาณ 28 - 43 บาท)
จากข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรอิหร่าน พบว่าตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2565 เป็นต้นมา (เริ่มวันที่ 21 มีนาคม 2565) อิหร่านนําเข้าข้าวจากต่างประเทศแล้วปริมาณ 390,000 ตัน โดยเป็นการนําเข้าของภาคเอกชนปริมาณ 355,000 ตันและนําเข้าโดยรัฐ (ผ่านบริษัทตัวแทนเอกชน) ปริมาณ 35,000 ตัน ซึ่งปริมาณนําเข้าดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ เพราะความต้องการข้าวจากต่างประเทศของอิหร่านในความเป็นจริงจะอยู่ที่ประมาณเดือนละ 160,000 ตัน
อย่างไรก็ตาม เป็นที่เข้าใจว่าการนําเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยของอิหร่านตามข้อมูลของสมาคมผู้นําเข้าข้าว อิหร่าน น่าจะเป็นการนําเข้าเพื่อรักษาปริมาณสํารองความมั่นคงทางอาหารของอิหร่านเป็นหลัก เพราะที่ผ่านมารัฐบาลได้นําข้าวที่นําเข้ามาออกจําหน่ายจนหมดแล้ว เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมปริมาณและราคาในตลาด โดยข้าวนําเข้าเหล่านี้รวมถึงข้าวจากไทย จะมีข้อความบนบรรจุภัณฑ์เป็นภาษาท้องถิ่นว่า “เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมสมดุล
ในตลาดเท่านั้น”
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ข้าวสารหรือข้าวหอมที่อิหร่านนําเข้าจากต่างประเทศ จะไม่ถูกนําเข้าในรูปของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในประเทศแหล่งกำเนิด แต่จะมีการบรรจุลงในถุงพลาสติกทึบหนาหรือถุงผ้า ผนึกยี่ห้อของบริษัทผู้นําเข้า และเขียนรายละเอียดเป็นภาษาฟาร์ซีอีกครั้ง อิหร่านนิยมบรรจุข้าวเพื่อจําหน่ายในตลาดในถุงขนาด 10 กิโลกรัม ซึ่งผู้บริโภค
จะไม่สามารถมองเห็นรูปลักษณะเมล็ดข้าว ขนาด สี และสัมผัสได้แต่อย่างใด
อนึ่ง ข้าวหอมมะลิไทยเข้ามาตีตลาดอิหร่านครั้งแรกในปี 2559 ซึ่งเป็นช่วงหลังการบรรลุการเจรจาข้อตกลงแผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม (JCPOA) เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ระหว่างประเทศอิหร่านกับประเทศ P5+1
โดยปริมาณการนําเข้าข้าวหอมมะลิในครั้งนั้นมีจำนวนจํากัด และสามารถหาซื้อได้จากร้านค้าเฉพาะหรือสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ภายหลังการคว่ำบาตรรอบใหม่ในปี 2561 ส่งผลให้เศรษฐกิจของอิหร่านถดถอยอย่างต่อเนื่อง และย่ำแย่ลงอย่าเห็นได้ชัด แต่หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ราคาข้าวในตลาดอิหร่านได้ทยอยขยับสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าว
ที่ผลิตได้ในประเทศซึ่งเป็นที่นิยมของคนอิหร่าน และมีราคาแพงมากกว่าข้าวนําเข้าจากต่างประเทศหลายเท่าตัว
ด้วยเหตุนี้เพื่อเป็นการตรึงราคาข้าวในตลาด รัฐบาลอิหร่านจึงหาแหล่งนําเข้าข้าวที่มีราคาถูกจากต่างประเทศ
มาเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศ เช่น ไทย เป็นต้น โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้นําเข้าข้าวขาวเกรด B แต่ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับข้าวบาสมาติของอินเดีย และปากีสถาน แม้ว่าข้าวไทยจะมีราคาถูกกว่าก็ตาม
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.42 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.91 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 335.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,193.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 349.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,581.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.01 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 388.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2565/66 มีปริมาณ 1,185.24 ล้านตัน ลดลงจาก 1,198.88 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 1.14 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และอาร์เจนตินา มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 183.40 ล้านตัน ลดลงจาก 189.93 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 3.44 โดย บราซิล แอฟริกาใต้ และปารากวัย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เวียดนาม อิหร่าน แอลจีเรีย ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี โมร็อกโก บังกลาเทศ ไทย เม็กซิโก และกัวเตมาลา มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 588.00 เซนต์ (8,537.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 711.00 เซนต์ (10,204.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 17.30 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 1,667.00 บาท

 


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนกรกฎาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.673 ล้านตัน (ร้อยละ 1.94 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.76 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.70 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.22
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.94 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.45
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 282 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,320 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (10,260 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 504 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,430 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 523 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,810 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.63

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.565 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.282 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.665 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตันของเดือนมิถุนายน คิดเป็นร้อยละ 6.01 และร้อยละ 6.00 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.67 บาท ลดลงจาก กก.ละ 6.82 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.20
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 38.15 บาท ลดลงจาก กก.ละ 39.50 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.42
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มคาดว่าจะลดลงไปอยู่ที่ประมาณตันละ 3,000 ริงกิตมาเลเซีย ภายในเดือนกันยายน เนื่องจากอุปทานน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียที่เพิ่มสูงขึ้น สต็อกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียสูงถึง 10 ล้านตัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่สต็อกน้ำมันในมาเลเซียคาดว่าจะมากกว่า 2 ล้านตัน ในเดือนสิงหาคม อีกทั้งราคาที่ลดลงยังได้รับผลกระทบจากปริมาณความต้องการจากอินเดียและจีนที่ลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัว
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,821.24 ริงกิตมาเลเซีย (31.92 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,863.94 ริงกิตมาเลเซีย (32.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.11 
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (45.46 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,219 ดอลลาร์สหรัฐฯ (44.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.15
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
        Pecege ระบุการเก็บเกี่ยวอ้อยของภาคใต้-กลางบราซิลในปี 2565/2566 อยู่ที่ 542 ล้านตัน ซึ่งกล่าวว่าเป็นหนึ่งในการประมาณการที่ต่ำที่สุดในตลาด และเป็นที่ถกเถียงกันว่าในขณะที่ผู้สังเกตการณ์ตลาดคาดหวังผลผลิตต่อพื้นที่ลดลง หลายคนไม่ได้คำนึงถึงพื้นที่ลดลง อย่างไรก็ตาม hEDGEpoint ได้ลดประมาณการของพวกเขาลงจาก 549 ล้านตัน เป็น 540 ล้านตัน ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น
        Barchart รายงานว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าของน้ำตาลอ่อนตัวลงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม โดยค่าเท่าเทียมกันของ hydrous ลดลงเป็น 16.3 เซนต์/ปอนด์ และคาดว่าโรงงานในบราซิลจะทำน้ำตาลได้มากขึ้นเนื่องจากราคาไฮดรัสที่ลดลง ผู้สังเกตการณ์กล่าว ขณะที่ hEDGEpoint เพิ่มส่วนผสมน้ำตาลใน ภาคกลาง-ใต้บราซิลขึ้น เป็น 42.7% เนื่องจากน้ำตาลทำกำไรได้มากกว่า แม้ว่าความต้องการ รถยนต์ประเภท Otto cycle จะเพิ่มขึ้น 4.6% อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลผลิตอ้อยที่มากขึ้นในเอเชียและไทยจะส่งผลต่อราคาน้ำตาลเช่นกัน และ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม อย่างน้อย 6 รัฐของบราซิลได้ลดระดับ ICMS เกี่ยวกับไฮดรัส จากการวิเคราะห์คาดว่าโรงงานน้ำตาลต่างๆ จะระงับการขายจนกว่าสถานการณ์และทิศทางราคาจะชัดเจนขึ้น




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,434.88 เซนต์ (19.44 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,538.00 เซนต์ (20.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.70
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 434.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.02 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 464.15 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 60.81 เซนต์ (49.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากจากปอนด์ละ 59.94 เซนต์ (47.92 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.45


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 100.01 เซนต์(กิโลกรัมละ 81.28 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 96.82 เซนต์ (กิโลกรัมละ 77.85 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.29 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 3.43 บาท)
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,767 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1, 727 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.32 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,332 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1, 382 บาทคิดเป็นร้อยละ 3.62 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 963 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  103.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 102.72  คิดเป็นร้อยละ 0.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.57 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 94.39 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 108.99 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 104.84 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.15 บาทคิดเป็นร้อยละ 4.66 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 49.46 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 331 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 328 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 320 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 325 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 335 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 338 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.66 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.52 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.98 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 373 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 370 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 398 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 386 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 351 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 344 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.39 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.52 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.51 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 82.90 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.74 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
 

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 - 24 กรกฎาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.13 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.90 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.85 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.36 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 156.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.70 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.29 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 85.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 245.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 260.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.29 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.89 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา